วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษกิจพอเพียง



การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษกิจพอเพียง
ความรู้การประยุกต์ใช้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
โดยสำนักงานเกษตรอำเภอนาดูน

การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้ดังนี้

1. ทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสาน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียง
2. ปลูกผักสวนครัวลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
3. ใช้ปุ๋ยคอกและทำปุ๋ยหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
4. เพาะเห็ดฟางจากฟางข้าวและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
5. ปลูกไม้ผลสวนหลังบ้านและไม้ใช้สอย
6. ปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
7. เลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าวและสระน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม
8. เลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่ประมาณ 10-15 ตัว เพื่อเป็นอาหารต่อครอบครัว โดยใช้ข้าวเปลือก รำปลายข้าวจากการทำนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูก พืชไร่ เศษพืชผัก จากการปลูกพืชผัก
9. การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร หรือวัว เพื่อใช้เป็นพลังงาน ในครัวเรือน
10. ทำสารสกัดชีวภาพ จากเศษพืชผักผลไม้ และพืชสมุนไพร ใช้ในไร่นา

        การดำเนินชีวิตในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประกอบอาชีพ  ตามทรัพยากรที่มีอยู่โดยอาศัยความรู้  ความสามารถ  เพื่อให้เกิดความพอเพียงในลักษณะพออยู่พอกิน  ก่อให้เกิดความสุขความสบายภายในครอบครัว  หากเหลือจากการดำรงชีพสามารถนำไปขายเพื่อเป็นรายได้  และเก็บออมเป็นเงินทุนสำรองต่อไป

ตัวอย่างของพืชที่ควรปลูก  ได้แก่

พืชสวน (ไม้ผล)                  เช่น        มะม่วง  มะพร้าว  มะขาม  ขนุน  ละมุด  ส้ม  กล้วย
                                                        น้อยหน่า  มะละกอ   และกระท้อน  เป็นต้น
พืชสวน (ผัก  ไม้ยืนต้น)   เช่น        แคบ้าน  มะรุม  สะเดา  เหลียง  เนียง  ชะเอม  ผักหวาน
                                                        ขจร  ขี้เหล็ก  และกระถิน  เป็นต้น
พืชสวน (พืชผัก)                 เช่น        พริก  กระเพรา  โหระพา  ตะไคร้  ขิง ข่า แมงลัก 
สะระแหน่  มันเทศ  เผือก  ถั่วฝักยาว  ถั่วพู 
มะเขือเทศ  เป็นต้น
พืชสวน (ไม้ดอก)               เช่น        มะลิ  ดาวเรือง  บานไม่รู้โรย  กุหลาบ  รัก  และซ่อนกลิ่น
                                                                เป็นต้น
เห็ด                                         เช่น        เห็นนางฟ้า  เห็ดฟาง  เห็ดเป๋าฮื้อ  เป็นต้น
สมุนไพร  และเครื่องเทศ  เช่น        หมาก  พลู  พริกไทย  บุก  บัวบก  มะเกลือ  ชุมเห็ด  หญ้าแฝก 
                                                                กระเพรา  โหระพา  สะระแหน่  แมงลัก  และตะไคร้  เป็นต้น
ไม้ยืนต้น(ใช้สอยและเชื้อเพลิง)  เช่น  ไผ่  มะพร้าว  ตาล  มะขามเทศ  สะแก  ทองหลาง  จามจุรี
                                                                กระถิน  ยูคาลิปตัส  สะเดา  ขี้เหล็ก  ประดู่  ชิงชัน  และยางนา
พืชไร่                                     เช่น        ข้าวโพด  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  อ้อย  มันสำปะหลัง  ละหุ่ง เป็นต้น
                                                                พืชไร่บางชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ จำหน่ายได้
พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน เช่น    ทองหลาง  ขี้เหล็ก  กระถิน  ถั่วเขียว  ถั่วแดง  ถั่วพร้า  ถั่วมะแฮะ
                                                                ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  ถั่วพุ่ม  โสม  ถั่วฮามาต้า
                                                                เป็นพืชที่ควรปลูกแซมไม้ผลไม้ยืนต้นขณะที่ต้นยังเล็กอยู่
                                                                พืชเหล่านี้บางชนิดใช้กินใบและดอกได้ด้วย
  
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดำเนินชีวิตทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ดังนี้

1.ด้านจิตใจ
Ø    ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง
Ø    มีจิตใจสำนึกที่ดี
Ø    สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม
Ø    มีจิตใจเอื้ออาทร  ประณีประนอม
Ø    คำนึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2.ด้านสังคมและชุมชน
Ø    ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
Ø    สร้างเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง
3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Ø    การจัดการอย่างชาญฉลาด
Ø    รู้คุณค่าของทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Ø    ตั้งอยู่บนพื้นฐานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่ายั่งยืน
4. ด้านเทคโนโลยี
Ø    ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม
Ø    ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
Ø    พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง
5. ด้านเศรษฐกิจ
Ø    เพิ่มรายได้
Ø    ลดรายจ่าย
Ø    การออม สะสมเป็นเงินทุน
  
แนวทางการปฏิบัติตนตามเศรษฐกิจพอเพียง

v      ยึดหลัก 3 พอ คือ พออยู่ พอกิน พอใช้           
v    ประหยัด โดยตัดทอนรายจ่าย จากความฟุ่มเฟือย
v    ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต
v     ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
v    ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย
v     ภูมิปัญญาพื้นบ้านและที่ดินคือทุนทางสังคม
v    ตั้งสติมั่นคง ร่างกายที่แข็งแรง ปัญญาที่เฉียบแหลม นำความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

แนวทางการประยุกต์ทฤษฎีใหม่สำหรับเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย

1. ความรู้และความเข้าใจ
1.1 ทฤษฎีใหม่ ไม่ใช่วิธีการหรือเทคนิคเดียวเท่านั้นในการที่จะแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้ทุกกรณีทุกพื้นที่
1.2 ทฤษฎีใหม่เป็นทางเลือกทางหนึ่งที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหา ให้สามารถอยู่ได้ในระดับพอเพียง (พออยู่ พอกิน)
1.3 ทฤษฎีใหม่เป็นการจัดการหรือวิธีการจัดการทรัพยากร หรือการจัดการพื้นที่ที่เกี่ยวกับดินและน้ำ การปลูกพืชและพันธุ์ไม้ ให้สามารถดำรงชีพ และประกอบอาชีพการเกษตรอย่างเหมาะสม อยู่ได้ในพื้นที่ของตนเอง อย่างพออยู่พอกินในเบื้องต้น
1.4 ทฤษฎีใหม่ในขั้นที่หนึ่ง เป็นระบบการทำฟาร์ม ที่มีระบบย่อยอยู่ในระบบใหญ่ได้แก่ ระบบการทำนา ระบบการปลูกพืช (ผสมผสาน) ระบบการจัดการน้ำ และระบบครัวเรือนเกษตรกร
1.5 ทฤษฎีใหม่ในขั้นที่หนึ่ง เป็นการจัดการพื้นที่ในสัดส่วน 30:30:30:10 ตามทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติมิใช่สูตรตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
1.6 ทฤษฎีใหม่มุ่งพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะการบริหาร การจัดการ และการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ
1.7 ทฤษฎีใหม่สร้างความเข็มแข็งจากการพึ่งพาตนเอง
1.8 ทฤษฎีใหม่ต้องอาศัยความขยันมั่นเพียร ความอดทน การประหยัด


1.9 ทฤษฎีใหม่สอนให้คนรู้รักความสามัคคีรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและ กัน
1.10 ทฤษฎีใหม่สอนให้คนรู้จักการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ทั้งใกล้ชิดและห่างไกลโดยอาศัยความยุติธรรมและคุณธรรม

2.ความพร้อมและการจัดการ
2.1 สภาพพื้นที่ เช่น ที่ดินและแหล่งน้ำในไร่นา เป็นต้น บางสภาพพื้นที่ทำได้ ดินเหมาะสม ดินสามารถปลูกพืชได้ และเก็บกักน้ำได้
2.2 เทคโนโลยีการผลิต การจัดการ และการตลาด
2.3 เงินลงทุน และเงินทุนหมุนเวียนเล็กน้อยหากมีความเพียร
2.4 ในการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร เช่น เคยปลูกพืชอย่างเดียว กลับมาปลูกหลายชนิด ทำงานในไร่นาบางฤดูกาล กลับต้องทำตลอดปีอย่างมีความสุข และมีความอบอุ่นกับครอบครัว
2.5 มีทักษะความขยันมั่นเพียร อดทน ทดลอง ศึกษา เรียนรู้จริง จากการปฏิบัติ และรอคอยความสำเร็จ

3. ความร่วมมือและความสามัคคี
3.1 ร่วมมือกับภาคราชการ เอกชน และประชาชน
3.2 ความร่วมมือของคนในกลุ่ม ชุมชน และท้องถิ่น
3.3 ความสามัคคีร่วมกัน เอื้ออาทรต่อกัน
3.4 ระดมทุน ทรัพยากรการผลิต คน และอื่นๆ ในการดำเนินงาน

สรุปหลักการประยุกต์ทฤษฎีใหม่สำหรับเศรษฐกิจพอเพียง

1. ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 10-15 ไร่
2. ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง หรือขั้นแรก ทำการผลิตกิจกรรมการเกษตร พืช สัตว์ และประมงในไร่นา ให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ อย่าง "พออยู่ พอกิน" หรือสามารถพึ่งตนเองได้
3. มีข้าวพอเพียงในการบริโภคในครัวเรือน
4. ปัจจัยสำคัญคือการจัดการที่ดิน แหล่งน้ำ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ แรงงานและการลงทุนในไร่นา
 5. กิจกรรมการเกษตรหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงและมีรายได้ต่อเนื่อง
6. ควรมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรือการชลประทานมาเติมสระน้ำในไร่นา ในกรณีที่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

7. ในขั้นที่หนึ่งการแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ในอัตราส่วน 30:30:30:10 เป็นการจัดการพื้นที่ ตามทฤษฎีใหม่ สามารถประยุกต์เปลี่ยนแปลงสัดส่วนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ได้
8. ในขั้นที่สอง เกษตรกรรวมกลุ่มมุ่งเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยแต่ละครอบครัวต้องมีความพอเพียง "พออยู่ พอกิน" และเข็มแข็งก่อนขอความช่วยเหลือจากรัฐและเอกชน
9. ในขั้นที่สาม เมื่อชุมชนหรือกลุ่มเข็มแข็งจึงร่วมกับคนภายนอกค้าขายและสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจ
10. สร้างประโยชน์ร่วมกัน โดยร่วมพลังการผลิต การจัดการ และการค้าขาย
11. ด้วยหลักของทฤษฎีใหม่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง

ประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง

ประโยชน์
1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเอง
ได้ตามหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง”
2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่าง ๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้
โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปีทฤษฎีใหม่น้ำก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการ
ไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

36 ข้อคิดของพ่อ

36 ข้อคิดของ"พ่อ"

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1. ขอบคุณข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยด อาหารทุกจานอย่างจริงใจ
2. อย่าสวดมนต์เพื่อขอสิ่งใด นอกจาก “ปัญญา” และ “ความกล้าหาญ”
3. “เพื่อนใหม่” คือของขวัญที่ให้กับตัวเอง ส่วน “เพื่อนเก่า”/ “มิตร” คืออัญมณีที่นับวันจะเพิ่มคุณค่า
4. อ่านหนังสือ ธรรมะ ปีละเล่ม
5. ปฏิบัติต่อคนอื่นเช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา
6. พูดคำว่า “ขอบคุณ” ให้มากๆ
7. รักษา “ความลับ” ให้เป็น
8. ประเมินคุณค่าของการให้ “อภัย” ให้สูง
9. ฟังให้มากแล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี
10. ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง หากมีใครตำหนิ และรู้แก่ใจว่า เป็นจริง  11. หากล้มลง จงอย่ากลัวกับการลุกขึ้นใหม่
12. เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนักคิดเสมอว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะล้มเหลว
13. อย่าถกเถียงธุรกิจภายในลิฟต์
14. ใช้บัตรเครดิตเพื่อความสะดวก อย่าใช้เพื่อก่อหนี้สิน
15. อย่าหยิ่งหากจะกลว่าวว่า “ขอโทษ”
16. อย่าอายหากจะบอกใครว่า “ไม่รู้”
17. ระยะทางนับพันกิโลเมตร แน่นอนมันไม่ราบรื่นตลอดทาง
18. เมื่อไม่มีใครเกิดมาแล้ววิ่งได้ จึงควรทำสิ่งต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป
19. การประหยัดเป็นบ่อเกิดแห่งความร่ำรวย เป็นต้นทางแห่งความไม่ประมาท
20. คนไม่รักเงิน คือคนไม่รักชีวิต ไม่รักอนาคต
21. ยามทะเลาะกัน ผู้ที่เงียบก่อนคือผู้ที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี
22. ชีวิตนี้ฉันไม่เคยได้ทำงานเลยสักวัน ทุกวันเป็นวันสนุกหมด
23. จงใช้จุดแข็ง อย่าเอาชนะจุดอ่อน
24. เป็นหน้าที่ของเราที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด
25. เหรียญเดียวมี 2 หน้า ความสำเร็จ กับ ล้มเหลว
26. อย่าตามใจตัวเอง เรื่องยุ่งๆเกิดขึ้นล้วนตามใจตัวเองทั้งสิ้น
27. ฟันร่วงเพราะมันแข็ง ส่วนลิ้นยังอยู่เพราะมันอ่อน
28. อย่าดึงต้นกล้าให้โตไวๆ (อย่าใจร้อน)
29. ระลึกถึงความตายวันละ 3 ครั้ง ชีวิตจะมีสุข มีอภัย มีให้
30. ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด กระดุมเม็ดต่อๆไปก็ผิดหมด
31. ทุกชิ้นงานจะต้องกำหนดวันเวลาแล้วเสร็จ
32. จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด
33. ดาวและเดือนที่อยู่สูงอยากได้ต้องปีน “บันไดสูง”
34. มนุษย์ทุกคนมีชิ้นงานมากมายในชีวิต จงทำชิ้นงานที่สำคัญที่สุดก่อนเสมอ
35. หนังสือเป็นศูนย์รวมปัญญาของโลก จงอ่านหนังสือเดือนละเล่ม
36. ระเบียบวินัย คือ คุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต

ปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต

ปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิตได้แก่ (ปัจจัย 4)
อาหาร
: อาหารให้โปรตีน ได้แก่ ถั่วเหลือง ไก่ เป็ด ปลา
: อาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ ข้าว เผือก อ้อยเคี้ยว มันเทศ
: อาหารที่ให้วิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ พืชผักผลไม้และพืชผัก เช่นคะน้า แมงลัก กวางตุ้ง ผักหวาน ชะอม ตำลึง ฟักทอง ยอดแค กระถิน พริก กระเจี๊ยบ ผลไม้ เช่นมะม่วง มะนาว มะละกอ ฝรั่ง กล้วย
เครื่องนุ่งห่ม
: ผลผลิตจากฝ้าย และไหม ใช้ถักทอผ้า
ที่อยู่อาศัย
: บ้านที่อยู่อาศัย และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อาจทำพื้นบ้านและฝาเรือนจาก ไม้ไผ่ มะพร้าว หมาก ตาล มุงหลังคาโดยใช้ใบไม้ ใบหญ้า เช่นใบสัก ใบตาล ใบจาก หญ้าคา หญ้าแฝก
ยารักษาโรค
: พืชสมุนไพรและเครื่องเทศ ได้แก่ ขิง ขมิ้น รางจืด ฟ้าทะลายโจร กระเพรา ตะไคร้ กระชาย โหระพา มะกรูด กระเทียม มะแว้งเครือ ชุมเห็ดเทศ สะเดา ไพล ขี้เหล็ก ชะพลู

การปฎิบัติตนตามเเนวทางเศษรฐกิจพอเพียง

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
           1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า
           . . . ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง. . .
           2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า
           . . . ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ของตนเป็นหลักสำคัญ. . .
           3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า
           . . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น. . .
           4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า
           . . . การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. . .
           5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาทว่า . . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น. . .
ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า "พอ"
ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็จะพบกับความสุข




     "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ




     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฎิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไว้ในทาง สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรู้ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

     สมัยก่อน เกษตรกรจะทำการผลิตเพื่อการบริโภค โดยอาศัยธรรมชาติตามสภาพแวดล้อมมีการปลูกพืชหลากหลายชนิดคละกัน ทั้งพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร พืชใช้สอย ในลักษณะของสวนผสม พืชเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยา ซึ่งกันและกัน มีความต้องการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม กับการเจริญเติบโตแตกต่างกันไป เกี่ยวกับแสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น ดิน เป็นต้น เช่นพืชทรงพุ่มขนาดเล็กต้องการแสงน้อย อยู่ใต้พืชทรงพุ่มใหญ่ การทำลายของโรคแมลงที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการควบคุมพืชบางชนิดที่ให้มีปริมาณเหมาะสมในระบบนิเวศของพืช พืชที่ขึ้นปะปนหรือคละกันมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการระบาดของโรคแมลงพืชชนิดอื่นได้ ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้




     ต่อมามีการพัฒนาเป็นเกษตรเพื่อบริโภคเพื่อและจำหน่ายจนถึงปัจจุบันเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศมุ่งเพิ่มรายได้จึงทำการเกษตรเพื่อจำหน่ายทำให้ต้องใช้ทรัพยากรจากภายนอกมากขึ้นต้นทุนการผลิตสูงขึ้นกอปรกับเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ต้องหันกลับมาทำการเกษตร เพื่อบริโภคและจำหน่ายในลักษณะทางเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง

      เศรษฐกิจพอเพียง อาจจะขยายความได้ว่าเป็นการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตของคนไทยให้อยู่อย่างพอประมาณตน เดินทางสายกลาง มีความพอดีและพอเพียง กับตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ สิ่งสำคัญต้องรู้จักการพึ่งพาตนเองโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และรู้จักการนำทรัพยากรที่เรามีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นรู้จักการนำปัจจัยพื้นฐานมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขความสบาย และพอเพียงกับตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พระบรมราชโอวาท

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท1

“...ความเจริญนั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วย อาศัยปัจจัยสำคัญประกอบพร้อมกัน 4 อย่าง อย่างที่หนึ่ง ต้องมีคนดี มีปัญญา มีความรับผิดชอบ...” พระบรมราโชวาทเมื่อ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๕

 

เศรษฐกิจพอเพียง

“... เศรษฐกิจพอเพียง เปรียบเสมือนเสาเข็ม ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือน ...”   พระราชดำรัสจากวารสารชัยพัฒนา ปี ๒๕๔๒

 

พอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก

    “...พอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก...”  พระราชดำรัส เมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

 

เศรษฐกิจพอเพียง2

“...เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน...” พระราชดำรัสจากวารสารชัยพัฒนา ปี ๒๕๔๒

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ้

เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี

เศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่

ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝน และประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสมความพอเพียงในระดับชุมชน และระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่

ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัว หรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่ม และส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามกำลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวม หรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริงความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่

ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจ สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือ ร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

รูปภาพพอเพียง