วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษกิจพอเพียง



การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษกิจพอเพียง
ความรู้การประยุกต์ใช้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
โดยสำนักงานเกษตรอำเภอนาดูน

การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้ดังนี้

1. ทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสาน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียง
2. ปลูกผักสวนครัวลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
3. ใช้ปุ๋ยคอกและทำปุ๋ยหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
4. เพาะเห็ดฟางจากฟางข้าวและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
5. ปลูกไม้ผลสวนหลังบ้านและไม้ใช้สอย
6. ปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
7. เลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าวและสระน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม
8. เลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่ประมาณ 10-15 ตัว เพื่อเป็นอาหารต่อครอบครัว โดยใช้ข้าวเปลือก รำปลายข้าวจากการทำนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูก พืชไร่ เศษพืชผัก จากการปลูกพืชผัก
9. การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร หรือวัว เพื่อใช้เป็นพลังงาน ในครัวเรือน
10. ทำสารสกัดชีวภาพ จากเศษพืชผักผลไม้ และพืชสมุนไพร ใช้ในไร่นา

        การดำเนินชีวิตในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประกอบอาชีพ  ตามทรัพยากรที่มีอยู่โดยอาศัยความรู้  ความสามารถ  เพื่อให้เกิดความพอเพียงในลักษณะพออยู่พอกิน  ก่อให้เกิดความสุขความสบายภายในครอบครัว  หากเหลือจากการดำรงชีพสามารถนำไปขายเพื่อเป็นรายได้  และเก็บออมเป็นเงินทุนสำรองต่อไป

ตัวอย่างของพืชที่ควรปลูก  ได้แก่

พืชสวน (ไม้ผล)                  เช่น        มะม่วง  มะพร้าว  มะขาม  ขนุน  ละมุด  ส้ม  กล้วย
                                                        น้อยหน่า  มะละกอ   และกระท้อน  เป็นต้น
พืชสวน (ผัก  ไม้ยืนต้น)   เช่น        แคบ้าน  มะรุม  สะเดา  เหลียง  เนียง  ชะเอม  ผักหวาน
                                                        ขจร  ขี้เหล็ก  และกระถิน  เป็นต้น
พืชสวน (พืชผัก)                 เช่น        พริก  กระเพรา  โหระพา  ตะไคร้  ขิง ข่า แมงลัก 
สะระแหน่  มันเทศ  เผือก  ถั่วฝักยาว  ถั่วพู 
มะเขือเทศ  เป็นต้น
พืชสวน (ไม้ดอก)               เช่น        มะลิ  ดาวเรือง  บานไม่รู้โรย  กุหลาบ  รัก  และซ่อนกลิ่น
                                                                เป็นต้น
เห็ด                                         เช่น        เห็นนางฟ้า  เห็ดฟาง  เห็ดเป๋าฮื้อ  เป็นต้น
สมุนไพร  และเครื่องเทศ  เช่น        หมาก  พลู  พริกไทย  บุก  บัวบก  มะเกลือ  ชุมเห็ด  หญ้าแฝก 
                                                                กระเพรา  โหระพา  สะระแหน่  แมงลัก  และตะไคร้  เป็นต้น
ไม้ยืนต้น(ใช้สอยและเชื้อเพลิง)  เช่น  ไผ่  มะพร้าว  ตาล  มะขามเทศ  สะแก  ทองหลาง  จามจุรี
                                                                กระถิน  ยูคาลิปตัส  สะเดา  ขี้เหล็ก  ประดู่  ชิงชัน  และยางนา
พืชไร่                                     เช่น        ข้าวโพด  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  อ้อย  มันสำปะหลัง  ละหุ่ง เป็นต้น
                                                                พืชไร่บางชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ จำหน่ายได้
พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน เช่น    ทองหลาง  ขี้เหล็ก  กระถิน  ถั่วเขียว  ถั่วแดง  ถั่วพร้า  ถั่วมะแฮะ
                                                                ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  ถั่วพุ่ม  โสม  ถั่วฮามาต้า
                                                                เป็นพืชที่ควรปลูกแซมไม้ผลไม้ยืนต้นขณะที่ต้นยังเล็กอยู่
                                                                พืชเหล่านี้บางชนิดใช้กินใบและดอกได้ด้วย
  
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดำเนินชีวิตทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ดังนี้

1.ด้านจิตใจ
Ø    ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง
Ø    มีจิตใจสำนึกที่ดี
Ø    สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม
Ø    มีจิตใจเอื้ออาทร  ประณีประนอม
Ø    คำนึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2.ด้านสังคมและชุมชน
Ø    ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
Ø    สร้างเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง
3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Ø    การจัดการอย่างชาญฉลาด
Ø    รู้คุณค่าของทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Ø    ตั้งอยู่บนพื้นฐานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่ายั่งยืน
4. ด้านเทคโนโลยี
Ø    ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม
Ø    ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
Ø    พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง
5. ด้านเศรษฐกิจ
Ø    เพิ่มรายได้
Ø    ลดรายจ่าย
Ø    การออม สะสมเป็นเงินทุน
  
แนวทางการปฏิบัติตนตามเศรษฐกิจพอเพียง

v      ยึดหลัก 3 พอ คือ พออยู่ พอกิน พอใช้           
v    ประหยัด โดยตัดทอนรายจ่าย จากความฟุ่มเฟือย
v    ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต
v     ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
v    ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย
v     ภูมิปัญญาพื้นบ้านและที่ดินคือทุนทางสังคม
v    ตั้งสติมั่นคง ร่างกายที่แข็งแรง ปัญญาที่เฉียบแหลม นำความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

แนวทางการประยุกต์ทฤษฎีใหม่สำหรับเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย

1. ความรู้และความเข้าใจ
1.1 ทฤษฎีใหม่ ไม่ใช่วิธีการหรือเทคนิคเดียวเท่านั้นในการที่จะแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้ทุกกรณีทุกพื้นที่
1.2 ทฤษฎีใหม่เป็นทางเลือกทางหนึ่งที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหา ให้สามารถอยู่ได้ในระดับพอเพียง (พออยู่ พอกิน)
1.3 ทฤษฎีใหม่เป็นการจัดการหรือวิธีการจัดการทรัพยากร หรือการจัดการพื้นที่ที่เกี่ยวกับดินและน้ำ การปลูกพืชและพันธุ์ไม้ ให้สามารถดำรงชีพ และประกอบอาชีพการเกษตรอย่างเหมาะสม อยู่ได้ในพื้นที่ของตนเอง อย่างพออยู่พอกินในเบื้องต้น
1.4 ทฤษฎีใหม่ในขั้นที่หนึ่ง เป็นระบบการทำฟาร์ม ที่มีระบบย่อยอยู่ในระบบใหญ่ได้แก่ ระบบการทำนา ระบบการปลูกพืช (ผสมผสาน) ระบบการจัดการน้ำ และระบบครัวเรือนเกษตรกร
1.5 ทฤษฎีใหม่ในขั้นที่หนึ่ง เป็นการจัดการพื้นที่ในสัดส่วน 30:30:30:10 ตามทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติมิใช่สูตรตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
1.6 ทฤษฎีใหม่มุ่งพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะการบริหาร การจัดการ และการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ
1.7 ทฤษฎีใหม่สร้างความเข็มแข็งจากการพึ่งพาตนเอง
1.8 ทฤษฎีใหม่ต้องอาศัยความขยันมั่นเพียร ความอดทน การประหยัด


1.9 ทฤษฎีใหม่สอนให้คนรู้รักความสามัคคีรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและ กัน
1.10 ทฤษฎีใหม่สอนให้คนรู้จักการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ทั้งใกล้ชิดและห่างไกลโดยอาศัยความยุติธรรมและคุณธรรม

2.ความพร้อมและการจัดการ
2.1 สภาพพื้นที่ เช่น ที่ดินและแหล่งน้ำในไร่นา เป็นต้น บางสภาพพื้นที่ทำได้ ดินเหมาะสม ดินสามารถปลูกพืชได้ และเก็บกักน้ำได้
2.2 เทคโนโลยีการผลิต การจัดการ และการตลาด
2.3 เงินลงทุน และเงินทุนหมุนเวียนเล็กน้อยหากมีความเพียร
2.4 ในการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร เช่น เคยปลูกพืชอย่างเดียว กลับมาปลูกหลายชนิด ทำงานในไร่นาบางฤดูกาล กลับต้องทำตลอดปีอย่างมีความสุข และมีความอบอุ่นกับครอบครัว
2.5 มีทักษะความขยันมั่นเพียร อดทน ทดลอง ศึกษา เรียนรู้จริง จากการปฏิบัติ และรอคอยความสำเร็จ

3. ความร่วมมือและความสามัคคี
3.1 ร่วมมือกับภาคราชการ เอกชน และประชาชน
3.2 ความร่วมมือของคนในกลุ่ม ชุมชน และท้องถิ่น
3.3 ความสามัคคีร่วมกัน เอื้ออาทรต่อกัน
3.4 ระดมทุน ทรัพยากรการผลิต คน และอื่นๆ ในการดำเนินงาน

สรุปหลักการประยุกต์ทฤษฎีใหม่สำหรับเศรษฐกิจพอเพียง

1. ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 10-15 ไร่
2. ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง หรือขั้นแรก ทำการผลิตกิจกรรมการเกษตร พืช สัตว์ และประมงในไร่นา ให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ อย่าง "พออยู่ พอกิน" หรือสามารถพึ่งตนเองได้
3. มีข้าวพอเพียงในการบริโภคในครัวเรือน
4. ปัจจัยสำคัญคือการจัดการที่ดิน แหล่งน้ำ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ แรงงานและการลงทุนในไร่นา
 5. กิจกรรมการเกษตรหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงและมีรายได้ต่อเนื่อง
6. ควรมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรือการชลประทานมาเติมสระน้ำในไร่นา ในกรณีที่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

7. ในขั้นที่หนึ่งการแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ในอัตราส่วน 30:30:30:10 เป็นการจัดการพื้นที่ ตามทฤษฎีใหม่ สามารถประยุกต์เปลี่ยนแปลงสัดส่วนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ได้
8. ในขั้นที่สอง เกษตรกรรวมกลุ่มมุ่งเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยแต่ละครอบครัวต้องมีความพอเพียง "พออยู่ พอกิน" และเข็มแข็งก่อนขอความช่วยเหลือจากรัฐและเอกชน
9. ในขั้นที่สาม เมื่อชุมชนหรือกลุ่มเข็มแข็งจึงร่วมกับคนภายนอกค้าขายและสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจ
10. สร้างประโยชน์ร่วมกัน โดยร่วมพลังการผลิต การจัดการ และการค้าขาย
11. ด้วยหลักของทฤษฎีใหม่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น